water airport

http://sanambinnam.siam2web.com/
หน้าหลัก  ความเป็นมา  ประวัติผู้แต่ง  เนื้อเรื่องย่อ  ลักษณะคำประพันธ์  ถอดความ



ความเป็นมา

เรื่องอิเหนาเป็นพงศาวดารของชวาประมาณ ๑,๖๐๐ ปีล่วงมาแล้ว

ในพงศาวดารเรียกว่า  " อิเหนา ปันหยี กรัตปาดี " แต่ชาวชวาเรียกเป็นคำสามัญว่า ปันหยี

ส่วนคำว่าอิเหนา ชวาออกเสียงเป็น  อินู  ในพงศาวดารกล่าวว่า  กษัตริย์ไอรลังคะ ครองเมืองดาฮา (ดาหา)

พระองค์มีพระธิดา ๑ องค์ พระโอรส ๒ องค์ ต่อมาพระธิดาออกบวช กษัตริย์ไอรลังคะ แยกอาณาจักรออกเป็นสองแคว้น

คือ กุเรปันและดาหา เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์โอรสองค์โตครองกุเรปัน องค์เล็กครองดาหา

กษัตริย์กุเรปัน มีพระโอรสชื่ออิเหนา กษัตริย์ดาหา มีพระธิดาชื่อบุษบา พระธิดาที่บวชเป็นชีได้ให้อิเหนาและบุษบาอิภิเษกกัน

ทั้งสองเมืองจึงรวมกันอีกครั้ง

อิเหนาเป็นกษัตริย์ที่ทรงอานุภาพมาก ได้ปราบปรามบ้านเมืองน้อยใหญ่อยู่ในอำนาจจึงได้ชื่อว่า

" มหาราชองค์หนึ่งของชวา " และกษัตริย์ราชววงศ์อิเหนาได้ครองราชย์สืบมา จนถึงประมาณ

พ.ศ. ๑๗๖๔ จึงเสื่อมอำนาจ กษัตริย์อังรกะแย่งราชสมบัติได้ และย้ายเมืองไปตั้งทีเมืองสิงคัสซารี (สิงหัดส่าหรี)

ต่อมาได้ย้ายเมืองไปอยุ่ที่เมืองมัชปาหิตจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๐๐๐ ชวาก็ตกอยู่ในอำนาจของอิเดีย และตกอยุ่ในอำนาจของโปรตุเกส

และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ จนกระทั่งเป็นอิสระภาพในปัจจุบัน

สำหรับชาวชวา อิเหนาถือว่าเป็นวีรบุรุษ เป็นผู้มีฤทธิ์ เรื่องที่เล่าต่อ ๆ กันมาจึงเต็มไปด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์

ที่แตกต่างไปจากพงศาดารมาก

การที่เรื่องอิเหนาเข้ามาสู่ประเทศไทยกล่าวกันว่าในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์มีพระราชธิดากับเจ้าฟ้าสังวาลย์ ๒ องค์

คือ เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ และเจ้าฟ้าทั้งสององค์มีนางกำนัลเป็นหญิงชาวมลายูที่ได้มาแต่เมืองปัตตานี

นางกำนัลผู้นี้เป็นผู้เล่านิทานปันหยีถวายเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ ต่อมาทั้งสองพระองค์จึงนิพนธ์ขึ้นเป็นบทละครองค์ละเรื่อง

บทละครของเจ้าฟ้ากุณฆลชื่อว่าดาหลัง ส่วนของเจ้าฟ้ามงกุฎให้ชื่อว่าอิเหนา แต่คนทั่วไปมักเรียกพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากุณฑลว่า

อิเหนาใหญ่ ของเจ้าฟ้ามงกุฎเรียกว่าอิเหนาเล็ก พระเจ้าอยุ่หัวบรมโกศโปรดให้เล่นเป็นละครในทั้งสองเรื่อง แต่คนทั่วไปนิยมเรื่องอิเหนาเล็ดมากกว่า

เมื่อครั้งเสียกรุงครั้งที่สอง (พ.ศ ๒๓๑๐) ต้นฉบับบทละครเรื่องดาหลังและเรื่องอิเหนา

ซึ่งเรื่องเดิมแต่งไว้ถึงตอนสึกชีสูญหายไป เมื่อกอบกู้เอกราชได้ ไทยต้องฟื้นฟูบ้านเมืองและศิลปวัฒนธรรมต่างๆ รวมทั้งรวบรวมวรรณคดีเก่าๆ แล้วเรียบเรียงของเก่าขึ้นมาใหม่

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาใหม่ทั้งหมด

เพื่อนเป็นบทละครรำ ทรงพิถีพิถันเลือกสรรถ้อยคำให้เหมาะแก่ท่ารำ การทรงพระราชนิพนธ์นั้น มีบางตอนที่พระองค์โปรดให้กวีท่านอื่นๆ มีส่วนแต่งร่วมด้วยแล้วนำบทละครนั้นมาอ่านถวายหน้าพระที่นั่ง ให้ที่ประชุมกวีช่วยกันปรับปรุงแก้ไขโดยพระองค์เป็นผู้วินิจฉัย บางตอนก็ให้ผู้เชี่ยชาญท่ารำทดลองรำตามบทด้วย บทละครเรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ ๒ จึงสนุกและไพเราะ เหมาะกับการเล่นละครรำอย่างยิ่ง จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ และเป็นหนังสือที่พร้อมด้วยคุณค่าทั้งด้านวรรณศิลป์ และด้านสังคม

Advertising Zone    Close
Online: 1 Visits: 190,496 Today: 3 PageView/Month: 25

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...